คำถามที่พบบ่อย

1. การประเมินผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment หรือ SROI) คืออะไร
ตอบ SROI จะพิจารณาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าสู่ระบบการประเมินมีขอบเขตในการพิจารณาทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งด้านบวกและด้านลบในทุกมิติ รวมทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมที่จะส่งผลต่อการตัดสินใจ และพิจารณามูลค่าทางการเงินที่เกิดขึ้นจริง (Tangible) และการประมาณมูลค่าของปัจจัยที่เป็นนามธรรม (Intangible) SROI เป็นแนวคิดสำหรับการทำความเข้าใจ การประเมิน และการบริหารจัดการผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการขององค์กรครอบคลุมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) จำแนกตามผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่สำคัญในแต่ละกลุ่ม โดย SROI เป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณสัดส่วนของมูลค่าผลลัพธ์ทางสังคมกับงบประมาณลงทุนของโครงการ เพื่อพิจารณาว่าในงบประมาณลงทุนของโครงการ 1 หน่วย สามารถให้ผลลัพธ์ทางสังคมเท่าไหร่ของงบประมาณลงทุน โดยการคำนวณมูลค่าผลลัพธ์ทางสังคมจะต้องคำนึงถึงเป้าหมายของที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงใด ๆ จากกิจกรรมที่ใส่เข้าไปและมีความสอดคล้องกับทิศทางขององค์กร

2. SROI มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ SROI มีประโยชน์ 4 รูปแบบ ดังนี้
1) การพิจารณาเลือกโครงการ โดยเลือกสายการให้บริการรถไฟฟ้าที่จะดำเนินงาน คำถามที่พบบ่อยSROI ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเลือกโครงการที่มีความคุ้มค่าที่สุดในการตัดสินใจลงทุน โดยพิจารณาจากมูลค่าของผลลัพธ์ในการดำเนินโครงการ เมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณลงทุนของโครงการ
2) การบริหารจัดการโครงการ ทำให้ทราบกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ ช่วยในการวางแผนการดำเนินโครงการได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ รวมถึงวิธีการเก็บข้อมูล และแนวทางการสรุปผลให้ตรงต่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการ
3) การติดตามผลลัพธ์การดำเนินโครงการ ในการกำหนดตัวชี้วัด การเก็บข้อมูล และแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ
4) การสื่อสารและการรายงานผล ให้หน่วยงานที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในและนอกองค์กรให้มีความเข้าใจตรงกัน

3. SROI เหมาะกับใคร
ตอบ SROI สามารถใช้งานได้กับทุกภาคส่วน ได้แก่
1) ภาครัฐ ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงบประมาณ การวางแผนกลยุทธ์การดำเนินงานที่ครอบคลุมมิติความคุ้มค่าและสะท้อนผลดีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนช่วยวิเคราะห์และขยายผลสัมฤทธิ์ทางสังคมผ่านกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
2) ภาคเอกชน ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนากลยุทธ์ในการดำเนินงานทางสังคม การบริหาร ติดตาม ปรับปรุงแนวทางดำเนินงานเพื่อสะท้อนกลยุทธ์เป้าหมายขององค์กร การเสริมกระบวนการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ตลอดจนสร้างความน่าเชื่อถือต่อองค์กรหรือกิจกรรมโครงการเพื่อสังคมที่เกิดประโยชน์และมีผลสัมฤทธิ์ที่ชี้วัดได้จริง
3) ภาคสังคม เสริมสร้างความน่าเชื่อถือขององค์กร พัฒนายกระดับมาตรฐานการดำเนินงานด้านสังคมขององค์กร เสริมสร้างความมั่นใจแก่ผู้ให้ทุนและความร่วมมือภาคีเครือข่าย
4) หน่วยงานกำกับหรือกองทุน ช่วยในกระบวนการกำกับ บริหารเป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานหรือโครงการหรือกิจกรรมของหน่วยงานในกำกับหรือหน่วยงานรับทุน ช่วยการบริหารความเสี่ยงในภาพรวมของการบริหารงาน ตลอดจนส่งเสริมพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กร
5) นักลงทุน ช่วยกำหนดและบริหารแผนกลยุทธ์การลงทุน รวมทั้งเป็นตัวเลือกในการตัดสินใจเพื่อทำการลงทุนในกิจกรรมหรือโครงการนั้น

4. SROI Calculator คืออะไร
ตอบ SROI Calculation คือ ระบบการคำนวณและจัดทำรายงานของผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมขั้นต้น สำหรับการประเมินโครงการหรือผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมบนเว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) แบบอัตโนมัติ (SROI Calculation & Impact Reporting)

5. SROI Calculator ใช้งานอย่างไร
ตอบ SROI Calculation ใช้งานได้ 2 รูปแบบ ได้แก่
1) การประเมินก่อนดำเนินโครงการ (SROI Forcast) เพื่อช่วยในการวางแผนและพิจารณาโครงการหรือกิจกรรมที่เหมาะสมในการให้ทุน
2) การประเมินหลังดำเนินโครงการ (SROI Evaluation) เพื่อช่วยในการบริหาร ติดตาม ปรับปรุงแนวทางดำเนินงานโครงการหรือกิจกรรมให้สามารถสร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และลดผลกระทบเชิงลบจากการดำเนินงาน

6. หากไม่มีความรู้ SROI สามารถใช้ SROI Calculator ได้หรือไม่
ตอบ ท่านสามารถใช้ SROI Calculator ในการคำนวณได้แม้ไม่มีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับ SROI โดยท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ socialvaluethailand.org สำหรับท่านที่มีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับ SROI ท่านสามารถใช้หลักการของ SROI มาประยุกต์ใช้งานในระบบได้

7. การคำนวณมูลค่าในขั้นตอนที่ 4 หรือ Valuation ในการคำนวณผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลง คิดอย่างไร
ตอบ การคำนวณมูลค่าของผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลง (Valuation) มีวิธีการดังนี้
1) การใส่ระดับความสำคัญ กำหนดให้แต่ละกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียย่อยที่ได้รับการเปลี่ยนแปลง ทำการเฉลี่ยน้ำหนัก (Weight) ร้อยละในแต่ละกลุ่ม เพื่อใช้คำนวณหามูลค่าของผลลัพธ์เฉพาะปีที่ดำเนินโครงการ
2) ประเภทมูลค่าของผลลัพธ์
  • 2.1 มีมูลค่าทางการเงิน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่มีมูลค่าทางการเงิน เช่น รายได้, ต้นทุน เป็นต้น ให้ผู้คำนวณใส่มูลค่าทางเงินในช่องมูลค่าของผลลัพธ์
  • 2.2 ไม่มีมูลค่าทางการเงิน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีมูลค่าทางการเงินหรือไม่สามารถระบุมูลค่าทางการเงินได้โดย เช่น ทักษะ/ความรู้, ความภาคภูมิใจ เป็นต้น ไม่ต้องใส่ในช่องมูลค่าของผลลัพธ์ เนื่องจาก ระบบจะคำนวณมูลค่าอัตโนมัติจากในช่องความสำคัญที่ผู้คำนวณระบุลงไปในขั้นตอนแรก

8. หากดำเนินการส่งรายงานให้ทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) หรือ สนช. เรียบร้อยแล้ว แต่ขึ้นสถานะรออนุมัติ สามารถทำการยกเลิกโครงการได้หรือไม่
ตอบ ท่านสามารถกดยกเลิกโครงการได้ โดยท่านเข้าไปที่รายงานฉบับที่ต้องการยกเลิก และเข้าขั้นตอนการคำนวณจนถึงหน้ารายงาน ท่านจะพบปุ่มคำว่า “ยกเลิกการส่งสนช.” ให้ท่านทำการคลิกไปที่ปุ่มนั้น และรายงานฉบับนั้นจะถูกยกเลิก

9. จะทราบได้อย่างไรว่ารายงานที่ส่งให้ทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) หรือ สนช. ได้รับการอนุมัติแล้ว
ตอบ ท่านสามารถเช็คสถานะได้ที่หน้าหลัก เเละดูที่ช่องสถานะ หลังรายงานฉบับที่ท่านส่งขออนุมัติ

10. หากดำเนินส่งรายงานให้ทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) หรือ สนช. เรียบร้อยแล้ว และทางสนช. ทำการอนุมัติโครงการแล้ว ท่านสามารถทำการยกเลิกได้หรือไม่
ตอบ ท่านไม่สามารถยกเลิกโครงการที่ได้รับการอนุมัติจาก สนช. แล้วได้ในระบบ แต่สามารถติดต่อชี้แจงได้ที่ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) โทร. 02-017-5555 หรือ
E-mail : [email protected]

11. หากลืมรหัสผ่านต้องทำอย่างไร
ตอบ ท่านสามารถดำเนินการได้ 2 รูปแบบ ได้แก่
1) ท่านเข้าไปที่หน้าเข้าสู่ระบบ (Login) และกดปุ่มคำว่า “ลืมรหัสผ่าน” หลังจากนั้นให้ท่านกรอก Email เพื่อทำการรีเซ็ทรหัสผ่าน
2) ท่านสามารถเข้าไปตรวจสอบรหัสผ่านได้จาก E-mail ยืนยันการสร้างบัญชีผู้ใช้งานในครั้งรแกที่ท่านสมัคร

12. หากอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม ต้องทำอย่างไร
ตอบ ท่านสามารถติดต่อได้ที่ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) โทร. 02-017-5555 หรือ E-mail : [email protected]



สงวนสิทธ์ 2563 @ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
[email protected]